Raspbian สามารถติดตั้งบน SD card ขนาด 2GB ได้ แต่ขนาดที่แนะนำคือตั้งแต่ 4GB ขึ้นไป
Download
download Raspbian ได้จาก http://www.raspberrypi.org/downloadsหลังจาก download เสร็จแล้วให้ทำ unzip จะได้ไฟล์นามสกุล .img
ไฟล์ล่าสุดขณะเขียนบล็อกนี้คือ 2013-07-26-wheezy-raspbian.img
เขียนลง SD card
หลังจากได้ไฟล์ .img มาแล้วก็เตรียมเขียนลงใน SD cardสำหรับ Windows
- download โปรแกรมสำหรับเขียน SD card ชื่อ Win32DiskImager ได้จากที่นี่ http://sourceforge.net/projects/win32diskimager/
- สร้าง directory สำหรับเก็บโปรแกรมนี้ เช่น C:\Win32DiskImager
- unzip ไฟล์ที่ download ไปไว้ใน directory ที่สร้างขึ้น
- รันโปรแกรม Win32DiskImager.exe ที่ unzip มา จะได้หน้าตาประมาณนี้
- เลือก Image File เป็น .img ที่ unzip ไว้
- เลือก Device ไปที่ SD card ที่จะเขียน
- กด Write รอจนเสร็จ แล้วทำ Safely Remove Hardware ของ SD card
- ใส่ SD card ลงใน card reader
- เปิดโปรแกรม Terminal
- ต้องหาว่า SD card อยู่ที่ device อะไร โดยใช้คำสั่ง
diskutil list
ตัวอย่าง SD card ขนาด 4GB จะได้ผลลัพธ์ประมาณนี้ ดูขนาดจาก column SIZE แล้วดู device จาก column IDENTIFIER จะเห็นได้ว่า SD card ตัวนี้อยู่ที่ disk1 (ไม่ต้องสนใจ disk1s1 เพราะ s1 ที่ตามหลังคือ partition 1 ของ disk1) - สั่ง unmount device (ในตัวอย่าง device คือ disk1) โดยใช้คำสั่ง
diskutil unmountDisk /dev/disk1 - ทำการเขียน SD card โดยใช้คำสั่ง
sudo dd bs=1m if=XX.img of=/dev/disk1
แทนที่ XX.img ด้วยชื่อไฟล์ .img ที่ download และ unzip ไว้ตั้งแต่ต้น
ส่วน disk1 คือ device ที่ unmount ไว้
อาจมีการถาม password ด้วย - หลังจากเขียนเสร็จ Mac OS X จะทำการ mount device กลับมาให้อัตโนมัติ และทำการสร้าง directory .Trashes กับ .fseventsd เพิ่มลงใน device ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาตอนติดตั้ง ต้องลบสอง directory นี้ออก
ไปที่ /Volumes/Boot โดยใช้คำสั่ง
cd /Volumes/boot
ทำการลบ directory ที่เกินมาโดยใช้คำสั่ง
rm -f -r .Trashes .fseventsd
ออกจาก /Volumes/Boot กลับไปที่ home โดยใช้คำสั่ง
cd
- สั่ง unmount device อีกครั้งโดยใช้คำสั่ง
diskutil unmountDisk /dev/disk1
Boot Raspbian
- ใส่ SD card ที่เตรียมไว้ลงใน socket ที่อยู่ด้านล่างของบอร์ด Raspberry Pi
- ต่อจอภาพโดยใช้สาย HDMI หรือ composite RCA
- ต่อ keyboard เข้าทางช่อง USB
- ต่อสาย network เข้าทางช่อง RJ45
- ต่อสายไฟเข้าที่ช่อง MicroUSB
การเลือกหัวข้อให้ใช้ลูกศรขึ้นลงกับ Tab เมื่อต้องการทำหัวข้อนั้นให้กด Enter
ข้อควรระวัง เนื่องจาก Raspberry Pi ใช้ CPU ความเร็วต่ำกว่า PC ที่เราคุ้นเคย เวลากด Enter ต้องรอซักนิด เพราะอาจดูเหมือนมันไม่ทำงาน
หัวข้อที่ควรทำ
- Expand Filesystem จะเป็นการขยาย file system ให้เต็มตามขนาดของ SD card และจะมีผลหลังจาก reboot ครั้งถัดไป
- Change User Password เป็นการตั้ง password ของ user pi
- Internationalisation Options เข้าไปเปลี่ยน timezone ให้เป็น Bangkok กับเปลี่ยน keyboard layout จาก UK เป็น US
หากต้องการเข้าเมนูนี้อีก ก็เปิด terminal หรือ login ด้วย secure shell แล้วใช้คำสั่ง
sudo raspi-config
การปิด/เปิดเครื่อง
ตัวบอร์ด Raspberry Pi ไม่มีปุ่มเปิดปิด เวลาปิดก็ถอดสายหรือปิดไฟที่จ่ายทางช่อง MicroUSB ได้เลยแต่หากต้องการ shutdown OS ให้สมบูรณ์ก่อน ให้ใช้คำสั่ง
sudo shutdown -h now
แล้วรอให้ไฟสถานะบนบอร์ดเหลือแค่ LED สีแดงดวงเดียว
ตอนนี้เราก็จะได้ Raspberry Pi เอาไว้ทดลองกันแล้ว
ขอให้สนุกนะครับ
No comments:
Post a Comment